วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สมุนไพรไทย



เหงือกปลาหมอ

ชื่อสมุนไพรไทย     เหงือกปลาหมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์     Acanthus ebracteatus Vahl 
วงศ์    ACANTHACEAE
ชื่ออื่น เหงือกปลาหมอดอกขาว
ลักษณะพืช           
         ไม้พุ่ม ลำต้นกลมเรียว มีหนามตามข้อๆละ 4 หนาม ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ผิวเรียบเป็นมัน ดอกเป็นช่อ ออกตามปลายกิ่ง ขอบใบจักหยาบ ปลายแหลมคล้ายหนามแต่อาจพบขอบใบเรียบก็ได้ ดอกสีขาว ผลรูปไข่สีเขียว พบขึ้นตามชายน้ำ ริมลำคลอง ที่ชุ่มชื้นทั่วไป







ชะเอมป่า
ชื่อสมุนไพรไทย    ชะเอมป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์    Albizia myriophylla Benth. 
วงศ์                     LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น                  ชะเอมไทย ตาลอ้อย ส้มป่อยหวาน ย่านงาย 
ลักษณะพืช      
         ไม้ยืนต้น ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
ใบย่อยมีขนาดเล็ก ที่โคนก้านใบมีต่อมใหญ่ 1 ต่อม ดอกอัดแน่นเป็นช่อกลม
ออกตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวยปลายแยก 5 แฉกเล็ก ๆ เกสรตัวผู้
จำนวนมากยาวยื่นพ้นกรวยดอกดอกมีกลิ่นหอมผลเป็นฝักแบนยาวปลายเรียวฝักแก่สีน้ำตาลมีเมล็ด 5-8 เมล็ด พบตามป่าละเมาะ เชิงเขา ป่าชายทะเล
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
ราก       -    แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย
เนื้อไม้    -   ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน








โคกกระออม

ชื่อสมุนไพรไทย       โคกกระออม
ชื่อวิทยาศาสตร์    Cardiospermum halica  
วงศ์ SAPINDACEAE  
ชื่ออื่น      -   
ลักษณะพืช
          ไม้ล้ม มีหนวดเกี่ยวพัน ใบเป็นใบ ประกอบ เรียงสลับในระนาบเดียวกัน แต่ละใบมีใบย่อย 3 ใบ ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบบางช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศขณะเล็ก สีขาว กลีบดอกสีขาว 4 กลีบผลเป็น 3 พูผนังบางสีเขียว ภายในมีเมล็ดกลม 1-3 เมล็ด เมล็ดแก่สีดำ มีจุดรูปไตสีขาวอยู่ด้านบนพบตามเรือกวน สนามหญ้า ริมทาง ทั่วไป
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ ทั้งต้น-แก้โรคไขข้ออักเสบ
                   ราก -ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ยาระบายทำให้อาเจียน






กระเจานา


ชื่อสมุนไพรไทย    กระเจานา
ชื่อ วิทยาศาสตร์ Corchrus aestusns Linn  
วงศ์            TILACEAE   
ชื่ออื่น         กระเจา   
 ลักษณะพืช
          ไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำตันมักแตกกิ่งก้านทอดนอนตามโดนตัน ใบรูปไข่
 การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
         เมล็ด - แก้ไข้เจริญอาหารแก้ปอดอักเสบ
            ใบ      -  แก้บิด แก้ไอแก้ปวดท้อง





กระดุม

ชื่อสมุนไพรไทย กระดุม  
ชื่อวิทยาศาสตร์ Borreria (L.F.) F.N. Willimas   
วงศ์ RUBIACEAE   
ชื่ออื่น -   
ลักษณะพืช
         พืชล้มลุก ลำตันและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยมใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูไข่ เนื้อใบบาง มีขนทั้ง 2 ด้าน ตอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวย ปลายแยก 4 แฉก กรวยดอกสีขาวกลีบดอกสีม่วงอ่อน ภายในกรวยดอกเหนือโคนกรวยดอกเล็กน้อย มีขนเรียงเป็นวงแหวน ผลเล็กรูปรี เมื่อแก่แตกอ้าภายใน มี 2 เมล็ด พบตามที่ชุ่มชื้น ริมทาง หรือที่น้ำขังแฉะทั่ว ๆ ไป 
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
      ใบ - แก้ริดสีดวงทวาร
      ราก - แก้ปวดฟัน
      ลำตันและใบ - เป็นส่วนผสมทำยาพอกแก้อุจจาระร่วง ทำยาชงแก้โรคนิ่วในได นิ่วในถุงน้ำดี 




มะกา

ชื่อสมุนไพรไทย         มะกา  
ชื่อวิทยาศาสตร์     Bridelia  ovata  Dencne               
วงศ์                EUPHORBIACEAE  
ชื่ออื่น              ก้องแกบ ขี้เหลามาดกา ซำซา   มาดกา ส่าเหล้า สิวาลา
ลักษณะพืช                                
      ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงถึง 10 ม.ใบเดี่ยว เรียงสลับ ตัวใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ขนาดยาว 7-20 ซม. กว้าง 3-7 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบสั้นดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในกระจุกเดียวกัน ผลเป็นผลสด รูปกลมขนาดเล็กสีเขียว พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายทะเล  
  การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
       ใบ      -    ขับเสมหะ
      เปลือก  -    ฝาดสมาน      





เสลดพังพอน
ชื่อสมุนไพรไทย  เสลดพังพอน 
ชื่อวิทยาศาสตร์      Barleria Iupulina Lindl  
วงศ์            ANTHACEAE 
ชื่ออื่น         พิมเสนต้น    เช็กเซเกี่ยม      ชองระอา 
ลักษณะพืช           
                        ไม้พุ่ม สูงถึง 2 ม. ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ตัวใบเรียวยาว ด้านบนสีเขียวเข้ม เส้นใบสีแดง ด้านล่างสีจางกว่า ผิวใบเกลี้ยงเกลา ยาว 5-10 ซม. กว้าง 0.5-1.5 ซม. ก้านใบสั้น ตามซอกใบจะมีหนามแหลม 2 อัน ช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรง หรือ ห้อยลง ยาว 3-9 ซม. กลีบดอกสีเหลือง ยาว 2-4 ซม. กลีบรองดอกสีเขียวปลายยอดสีม่วง ผล ยาวประมาณ 1.5 ซม. พบทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ  
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
                    ใบ         - พอกฝี แก้ช้ำบวม
                   ทั้งต้น    - แก้พิษงู แก้ปวดฟัน
                   ราก       - ฝนกับสุรา ทาถอนพิษงู ตะขาบ    แมลงป่อง ผึ้ง ปลาแขยง 





ต้นรัก

ชื่อสมุนไพร ต้นรัก   
ชื่อวิทยาศาสตร์   Calotropis gigantea R. Br.
วงศ์ ASCLEPIADACEAE   
ชื่ออื่น รักดอก ปอเถื่อน ป่านเถื่อน   
ลักษณะพืช  
              ไม้พุ่ม ขนาดกลาง ลำต้นมียางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปรีแกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอดและซอกใบ แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกตูมรูปกลมป้อม โคนดอกกว้างกว่าตอนปลายกลีบดอกเชื่อมติดกันตอนโคน ตอนปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ สีขาวหรือสีม่วง ชั้นในติดกับกลีบดอก มีระยางค์5 กลีบติดกัน สีขาว หรือสีม่วง ลักษณะคล้ายมงกุฎ ผลเป็นฝักคู่รูปรี ฝักแก่จะแตกตามยาว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดสีน้ำตาล มีขนยาวสีขาว ปลิวตามลมได้ดี พบขึ้นตามที่ว่าง แดดจัด ริมทาง หัวไร่ปลายนา
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
ยาง        -  ยาถ่ายอย่างแรง แก้ปวดฟัน ปวดหู   ขับพยาธิ แก้กลากเกลื้อน
ดอก        -  แก้ไอ แก้หืด











มะนาวผี

ชื่อสมุนไพรไทย มะนาวผี  
ชื่อวิทยาศาสตร์   Atakantia monothylla DC.  
วงศ์  RUTACEAE  
ชื่ออื่น  มะลิว จ๊า กรูดผี กรูดเปรย   
ลักษณะพืช
                      ไม้พุ่ม กิ่งก้านตามยอดค่อนข้างเป็นเหลี่ยม มีหนาม 1 อันตามซอกใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ตัวใบรูปไข่ ปลายใบหยักเว้า ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงแยก 2 แฉก ขนาดไม่เท้ากัน กลึบดอก 3 กลีบเกสรผู้ 6 อัน ก้านเกสรผู้รวมกันเป็นหลอดผลกลมขณะเล็ก ผิวหนาคล้ายหนังเมล็ดรูปใบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายทะเล  
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
                    ใบ -ใช้ในโรคทางเดินหายใจ 














กระเทียม

             ชื่อสมุนไพรไทย     กระเทียม 
  ชื่อวิทยาศาสตร์  Allium sativum
  วงศ์    Alliaceae
  ชื่อสามัญ         Common Garlic , Allium ,Garlic ,
  ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม
  ลักษณะพืช 
ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี









กระเพรา

ชื่อสมุนไพรไทย  กระเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์   Ocimum sanctum L.
วงศ์   Labiatae
ชื่ออื่น    กอมก้อ  กอมก้อดง  กะเพราขาว  กะเพราแดง
ลักษณะ
 กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
ประโยชน์ทางสมุนไพร
 ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย










กานพลู

ชื่อสมุนไพรไทย  กานพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์    Eugenia caryophyllum Bullock & Harrison
วงศ์  Myrtaceae
ชื่อสามัญ   Clove
ลักษณะ 
           ไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่
ประโยชน์ทางสมุนไพร  
             ตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5-8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ  นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสาร eugenic ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย












ขมิ้นชัน

ชื่อสมุนไพรไทย  ขมิ้นชัน   
ชื่อวิทยาศาสตร์    Curcuma longa L.
วงศ์   Zingiberaceae
ชื่อสามัญ    Turmaric
ชื่ออื่น    ขมิ้น  ขมิ้นแกง  ขมิ้นหยอก  ขมิ้นหัว  ขี้มิ้น  หมิ้น
ลักษณะ
           ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก  ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผลรูปกลมมี 3 พู
ประโยชน์ทางสมุนไพร 
             ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี จากการทดลองทารักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กพบว่าให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ












ข่า

ชื่อสมุนไพรไทย  ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Alpinia nigra (Gaertn.) Burtt
วงศ์   Zingiberaceae
ชื่อสามัญ   -
ชื่ออื่น   ข่าหยวก  ข่าหลวง
ลักษณะ  
        ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก  ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม
ประโยชน์ทางสมุนไพร
                 ตำรายาไทยใช้เหง้าอ่อนต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม เหง้าสดตำผสมกับเหล้าโรง ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน















ขิง
ชื่อสมุนไพรไทย  ขิง
ชื่อวิทยาศาสตร์    Zingiber officinale Roscoe
วงศ์    Zingiberaceae
ชื่อสามัญ    Ginger
ชื่ออื่น   ขิงแกลง  ขิงแดง  ขิงเผือก
ลักษณะ
                ไม้ล้มลุกสูง  0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมเช่นเดียวกับไพล ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลแห้ง มี 3 พู
ประโยชน์ทางสมุนไพร
           ตำรายาไทยใช้เหง้าขิงแก่ทั้งสดและแห้ง เป็นยาขับลม แก้อาเจียนแก้ไอขับเสมหะ และขับเหงื่อโดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร 36 คนพบว่าผงขิงป้องกันการเมารถเมาเรือได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (dimenhydrinate)









ดีปลี
    
ชื่อสมุนไพรไทย  ดีปลี
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Piper chaba Hunt 
วงศ์ :   Piperaceae
ชื่อสามัญ :  Long Pepper
ชื่ออื่น : -
ลักษณะ :
             ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบ  เดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก  ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล  เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน
ประโยชน์ทางสมุนไพร : 
        ตำรายาไทยใช้ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้งครึ่งผลฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ฤทธิ์ขับลมและแก้ไอ เกิดจากน้ำมันหอมระเหยและสาร piperine พบว่าสารสกัดเมทานอลมีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็กและสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์ ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง จึงควรระวังการใช้ในสตรีมีครรภ์




 




กระชาย

ชื่อสมุนไพรไทย  กระชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda  (L.) Mansf.
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น: กะแอน  จี๊ปู ซีฟู  เปาซอเร๊าะ  เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์
ลักษณะ :
          เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก
ประโยชน์ทางสมุนไพร 
              ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร











กวาวเครือ
ชื่อสมุนไพรไทย  กวาวเครือ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Pueraria mirifica
วงศ์   Leguminosae
ส่วนที่ใช้   หัว
สาระสำคัญ
หัวกวาวเครือมีสารทางเคมีหลายตัวที่จัดอยู่ในกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ เช่นเดียวกับเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมลักษณะทางเพศ
สรรพคุณ
ตามตำราไทยส่วนรากถูกนำมาใช้เป็นยาอายุวัฒนะ แก้อ่อนเพลีย กินไม่ได้นอนไม่หลับ บำรุงผิวพรรณและทรวงอกให้เต่งตึง โดยมีขนาดรับประทานเพียงวันละ1เม็ดพริกไทยอีกทั้งมีข้อห้ามใช้ในคนหนุ่มสาว









หล่อฮั่งก๊วย

ชื่อสมุนไพรไทย  หล่อฮั่งก๊วย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Monordica grosvenoril Swingle 
วงศ์   Cucurbitaceae 
ส่วนที่ใช้   ผล 
สาระสำคัญ   Mogroside 
สรรพคุณ
  เนื่องจากหล่อฮั่งก๊วยมีสารให้ความหวาน ( มากกว่าน้ำตาล มากกว่า 250 เท่า) จึงนำมาใช้แต่งรสหวานโดยที่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ในประเทศจีนใช้กันมากในเรื่องของการแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ แก้ไอ ขับเสมหะ 









เห็ดหลินจือ


ชื่อสมุนไพรไทย  เห็ดหลินจือ
ชื่อภาษาอังกฤษ   Lacquered mushroom และ Holy mushroom 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Ganoderma lucidum (Fr.) Karst. Polyporaceae 
สารสำคัญ  Polysaccharide, Triterpenoides, Steroid, Protoallcaloid เป็นต้น 
สรรพคุณ
  บำรุงร่างกายให้แข็งแรง ช่วยย่อยอาหาร แก้อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ธาตุพิการ และไอ หอบ หืด เป็นต้น











เสลดพังพอนตัวผู้

ชื่อสมุนไพรไทย     เสลดพังพอนตัวผู้
ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Barleria lupulina Lindi. 
ชื่ออื่น   ชองระอา , พิมเสนต้น 
วงศ์   Acanthaceae 
ส่วนที่ใช้   ใบสด 
สารสำคัญ   ในมีสาร iridoid glycosides 
สรรพคุณ  
 ใช้บรรเทาอาการโรคผิวหนังจำพวกเริม และงูสวัด โดยใช้ในสดครั้งละ 1 กำมือโขลกให้ละเอียดแทรกพิมเสนเล็กน้อย นำมาทาหรือโขลกผสมเหล้าแล้วพอกบ่อยๆ บริเวณที่มีอาการ ใบสดของเสลดพังพอนบรรเทาอาการแก้แพ้อักเสบ ใช้แก้พิษแมลงสัตว์กัด ต่อย (ไม่รวมพิษงู), แก้โรคผิวหนัง ผื่นคันโดยใช้ 2 – 10 ใบ ขยี้หรือตำให้แหลก โดยเอาน้ำที่ได้มาทาหรือพอกบริเวณที่เป็น หรือโขลกผสมกับเหล้าเล็กน้อยก็ได้ พบฤทธิ์ต้านอักเสบเมื่อนำมาทดสอบกับสัตว์ทดลอง 









เสลดพังพอนตัวเมีย

ชื่อสมุนไพรไทย  เสลดพังพอนตัวเมีย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Climacanthus nutans (Burm.f.) Lindau 
ชื่ออื่น   พญาปล้องทอง, พญายอ 
วงศ์ : Acanthaceae 
ส่วนที่ใช้   ใบ 
สารสำคัญ   Flavonoid 
สรรพคุณ
 บรรเทาอาการอักเสบเฉพาะที่ ถอนพิษแมลงสัตว์กัด ต่อย รักษาโรคเริม งูสวัด การที่ใบพญายอสด สามารถบรรเทาโรคเริม งูสวัดได้ เพราะสารสกัดของใบพญายอมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส (HERPES SIMPLEX TYPE-2) ซึ่งทำให้เกิดโรคเริมได้ และออกฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส (VARICELLA ZOSTER) ซึ่งทำให้เกิดโรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใสได้ด้วย บรรเทาอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัด ต่อย โดยใช้ใบของพญายอ โขลกกับเหล้า ทาบริเวณที่มีอาการ 










หญ้าหนวดแมว

ชื่อสมุนไพรไทย  หญ้าหนวดแมว
ชื่อภาษาอังกฤษ     Java Tea 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์     Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. 
วงศ์     Labiatae 
ส่วนที่ใช้      ใบและยอด 
สารสำคัญ     เกลือของ potassium และ Orthosiphonin 
สรรพคุณ   ขับปัสสาวะ , ขับก้อนนิ่วขนาดเล็ก  
ข้อควรระวัง   ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่บวมน้ำเนื่องจากโรคหัวใจหรือโรคใต ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ หรือระหว่างให้นมบุตร 








ฟ้าทะลายโจร

ชื่อสมุนไพรไทย  ฟ้าทะลายโจร
ชื่อภาษาอังกฤษ   King of bitterness 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Andrographis paniculata Wall.ex Ness. 
ชื่ออื่น   ซิปังกี (จีน) , น้ำลายพังพอน (ไทย) 
วงศ์   Acanthaceae 
ส่วนที่ใช้   ทั้งต้นและใบ 
สารสำคัญ   มีสารสำคัญจำพวก diterpene lactones
สรรพคุณ   
ใบ  รักษาแผลน้ำร้อนลวก แก้ไฟไหม้ โดยนำมาบดผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล
ต้น  แก้บิดชนิดติดเชื้อ แก้ทางเดินอาหารอักเสบ แก้หวัด แก้ปอดอักเสบและแก้อาหารท้องเดิน โดยใช้ต้นประมาณ 1-3 กำ แล้วต้มกับน้ำดื่ม 










แพงพวยฝรั่ง

ชื่อสมุนไพรไทย  แพงพวยฝรั่ง
ชื่อภาษาอังกฤษ   Periwinkle 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Catharanthus roseus (L.) G.Don 
วงศ์      Apocynaceae 
ส่วนที่ใช้       ทั้งต้น 
สารสำคัญ      มีสารอัลคคาลอยด์มากกว่า 100 ชนิด แต่ที่เป็นยาในปัจจุบันคือ Vincristine
สรรพคุณ   อัลคาลอยด์บริสุทธิ์ ใช้ในรูปยาฉีดแก้โรคมะเร็งในเม็ดโลหิต 







บอระเพ็ด

ชื่อสมุนไพรไทย  บอระเพ็ด
ชื่อทางวิทยาศาสตร์       Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson 
วงศ์       Menispermaceae 
ส่วนที่ใช้     เถา , ต้น 
สารสำคัญ   สารกลุ่ม terpenoid เช่น Borapetoside A , Borapetoside B , Borapetol A
สรรพคุณ :  เถา  แก้ไข้ แก้ร้อนไหน กระหายน้ำ บำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ ช่วยเจริญอาหาร โรคไข้พิษทุกชนิด
ใบ      ขับพยาธิในท้อง รักษาฟัน ตำให้ละเอียดพอกฝี แก้ฟกช้ำ ปวดแสบ ปวดร้อน
ผล     เป็นยาแก้ไข้พิษอย่างแรงและเสมหะเป็นพิษ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ โรคโลหิตพิการ 










บุก

ชื่อสมุนไพรไทย  บุก
ชื่อภาษาอังกฤษ     Elephant Yam 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์     Amorphophallus paeoniifolins (Dennst.) Nicolson 
ชื่ออื่น       บุกคางคก 
วงศ์      Araceae 
ส่วนที่ใช้       ลำต้นใต้ดิน (ต้องผ่านการเตรียมอย่างถูกต้องก่อนใช้) 
สารสำคัญ       glucomannan 
สรรพคุณ   
 บุก นับเป็นพืชที่มีปริมาณใยอาหารมากกว่าผลไม้บางชนิด มากกว่าสาหร่ายหรือว่านหางจระเข้เสียอีก ข้อดีของใยอาหารจากบุกนี้คือ จะช่วยทำให้การดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง ในขณะเดียวกันยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย 












ปัญจขันธ์
ชื่อสมุนไพรไทย  ปัญจขันธ์
ชื่อภาษาอังกฤษ      Miracle grass , Southern ginseng 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์      Gynostemma pentaphyllum Makino 
ชื่ออื่น     เจียวกู่หลาน (จีน) , อะมาซูรู (ญี่ปุ่น) , ชาสตูล (ไทย) 
วงศ์       Cucurbitaceae 
ส่วนที่ใช้   ทั้งต้น 
สารสำคัญ       Gypenoside , Flavonoids 
สรรพคุณ     
นักวิจัยชาวจีนและญี่ปุ่นพบว่า ปัญจขันธ์มีสารสำคัญหลายชนิดเรียกกันทั่วไปว่า gypenosides เป็นสารจำพวก saponin ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยกว่า 80 ชนิดเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้นอนหลับ








โมกเครือ

ชื่อสมุนไพรไทย  โมกเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์     Aganosma marginata G. Don
วงศ์      APOCYNACEAE
ชื่ออื่น      มะเดื่อดิน เดื่อเครือ ย่านเดือยบิด ไส้ตัน
ลักษณะพืช     ไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปขอบขนาน ผิวใบด้านบนเกลี้ยง หรือมีขนประปราย ด้านล่างมีขนสั้นๆ ช่อดอกออกตามปลายยอด หรือตามซอกใบ ดอกรูปกรวย ปลายแยก 5 แฉก สีขาว ผลเป็นฝักยาว ออกเป็นคู่ ฝักแก่จะแตก 2 ซีก มีเมล็ดรูปขอบขนาน ปลายด้านหนึ่งมีขนยาวมีขาว จำนวนมาก พบตามป่าละเมาะ เรีอกสวน ชอบที่ร่มชุ่มชื้น
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
ใบ - แก้ริดสีดวง แก้เมื่อย แก้ผื่นคัน ขับปัสสาวะ
ราก - แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ยาเจริญอาหาร ยาระบาย ขับระดู แก้ขัดเบา แก้ไตและตับพิการ แก้ไข้







ชะเอมป่า

 ชื่อสมุนไพรไทย  ชะเอมป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ชะเอมไทย ตาลอ้อย ส้มป่อยหวาน ย่านงาย
ลักษณะพืช : ไม้ยืนต้น ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยมีขนาดเล็ก ที่โคนก้านใบมีต่อมใหญ่ 1 ต่อม ดอกอัดแน่นเป็นช่อกลม ออกตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวย ปลายแยก 5 แฉกเล็กๆ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ยาวยื่นพันกรวยดอก ดอกมีกลิ่นหอม ผลเป็นฝักแบนยาว ปลายเรียว ฝักแก่สีน้ำตาล มีเมล็ด 5 - 8 เมล็ด พบตามป่าละเมาะ เชิงเขา ป่าชายทะเล
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :
ราก - แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย
เนื้อไม้ - ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน
ดอก - ช่วยย่อยอาหาร








ผักเป็ดน้ำ


 ชื่อสมุนไพรไทย  ผักเป็ดน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์     Alternanthera philoxeroides Griseb.
วงศ์    AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น  ผักเป็ด
ลักษณะพืช   
 พืชน้ำล้มลุก ลำต้นทอดคลาน หรือลอยเหนือน้ำ ลำต้นตอนล่างมีขนสีขาวตามซอกใบ ด้านข้างที่ตรงข้ามกัน 2 ด้านของลำต้น มีขนขึ้นเป็นแนว ส่วนอื่นๆเกลี้ยง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่หรือไข่กลับ ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็กสีขาว อัดแน่นเป็นกระจุก พบทั่วไปตามแอ่งน้ำ หนอง บึง
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้น - ขับน้ำนม แก้ไข้ ตำพอกแผล











ถั่วลิสงนา

 ชื่อสมุนไพรไทย  ถั่วลิสงนา
ชื่อวิทยาศาสตร์    Alysicarpus vaginalis (L.) DC.
วงศ์     LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น    คัดแซก หญ้าเกล็ดหอยใหญ่ หญ้าปล้องหวาย
ลักษณะพืช   
ไม้ล้มลุก ลำต้นตอนโคนจะทอดนอน ปลายยอดตั้งตรง ลำต้นยาว 0.3 - 1.5 ม. ใบเป็นใบประกอบ มี 1 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่กว้าง หรือ ยาวรี ขนาด 0.3 - 1.3 ซม. กว้าง 0.2 - 0.6 ซม. หูใบตั้งตรงแผ่แบน มีหูใบย่อย 2 อันติดอยู่ที่โคนใบย่อย ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด และตามซอกใบ ดอกเล็กสีแดงคล้ำ ฝักเล็ก ยาวเรียวปลายแหลม ยาว 1.2 ซม. เริ่มแรกสีดำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลือง ภายในมีเมล็ดสีเขียว 3 - 6 เมล็ด พบตามริมทาง สนามหญ้า ที่ว่างทั่วไป
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
     ราก - แก้ไอ










ผักขมหนาม
 ชื่อสมุนไพรไทย  ผักขมหนาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Amaranths spinosus Linn.
วงศ์ :  AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น :  ผักโหมหนาม ปะตึ แม่ล้อคู่
ลักษณะพืช :  พืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นกลม ผิวเกลี้ยง ค่อนข้างอวบน้ำ ใบเดี่ยว ตามซอกใบและโคนช่อดอกจะมีหนามแหลม ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ และออกรวมเป็นช่อตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กมาก ผลกลมขนาดเล็ก เมื่อแก่จะแตกตรงกลาง ภายในมีเมล็ดกลมค่อนข้างแบน 1 เมล็ด สีน้ำตาลผิวเรียบมัน พบตามที่ว่างรกร้าง ริมทาง เรือกสวนทั่วไป
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :
ทั้งต้น - ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ
ใบ - แก้บิด แก้บวมน้ำ
ราก - แก้โรคปวดตามข้อ ขับปัสสาวะ แก้หนองใน แก้ไข้





รามใหญ่

 ชื่อสมุนไพรไทย  รามใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์     Ardisia Littoralis Andr.
วงศ์     MYRSINACEAE
ชื่ออื่น      ทุลังกาสา ลังพิสา
ลักษณะพืช 
 ไม้พุ่ม สูงถึง 4 ม. ใบเดี่ยว เรียงเวียนตัวใบรูปไข่กลับหรือรูปรี ขนาดยาว 9 - 15 ซม. กว้าง 2 - 5 ซม. ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น ใบตามปลายยอดมีก้านใบสีแดง ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอดและซอกใบ กลีบดอกสีชมพูอ่อน 5 กลีบ ดอกตูม กลีบดอกด้านหลังมีตุ่มสีน้ำตาล เมื่อดอกบาน ตุ่มจางหายไป เกสรผู้ด้านหลังมีตุ่มสีน้ำตาลเช่นกัน ผลกลมแป้นสีชมพูเข้ม เมื่อแก่สีดำ พบตามเรือกสวน ที่ร่มชุ่มชื้น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
        ใบ - แก้ปวดบริเวณหน้าอก





ชื่อสมุนไพรไทย  มะแว้งเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์      Solanum trilobatum L.
วงศ์        Solanaceae
ชื่ออื่น      
แขว้งเคีย
ลักษณะ
ไม้เลื้อย มีหนามตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ขอบใบเว้า มีหนามตามเส้นใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวมีลายตามยาว เมื่อสุกสีแดง
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ตำรายาไทยใช้ผลสดแก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลกคั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน นอกจากนี้ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหารด้วย






มะนาว

ชื่อสมุนไพรไทย  มะนาว
ชื่อวิทยาศาสตร์     Citrus aurantifolia Swing.
วงศ์       Rutaceae
ชื่อสามัญ     Common Lime
ชื่ออื่น ส้มมะนาว มะลิว (ภาคเหนือ)
ลักษณะ
 ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสดกลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี








เพกา

ชื่อสมุนไพรไทย   เพกา
ชื่อวิทยาศาสตร์        Oroxylum indicum (L.) Vent.
วงศ์      Bignoniaceae
ชื่ออื่น มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ ลิ้นฟ้า
ลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 3-12 เมตรแตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียวโคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝักรูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบาง
ประโยชน์ทางสมุนไพร
 ตำรายาไทยใช้รากเป็นยาบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง เมล็ดเป็นยาระบาย ยาจีนใช้เมล็ดเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ









คูน
ชื่อสมุนไพรไทย   คูน
ชื่อวิทยาศาสตร์    Cassia fistula L.
วงศ์      Leguminosae
ชื่อสามัญ    Golden Shower Tree/ Purging Cassia
ชื่ออื่น ราชพฤกษ์ ลมแล้ง
ลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ห้อยเป็นโคมระย้า กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักกลม สีน้ำตาลเข้มหรือดำ เปลือกแข็ง ผิวเรียบ ภายในมีผนังกั้นเป็นห้อง แต่ละห้องมีเมล็ด 1 เมล็ด หุ้มด้วยเนื้อสีดำเหนียว
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ตำรายาไทยใช้เนื้อหุ้มเมล็ดแก้ท้องผูก ขับเสมหะ ดอกแก้ไข้ เป็นยาระบาย แก่นขับพยาธิไส้เดือน พบว่าเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน จึงมีสรรพคุณเป็นยาระบาย โดยนำเนื้อหุ้มเมล็ดซึ่งมีสีดำเหนียว









เร่ว
ชื่อสมุนไพรไทย  เร่ว
ชื่อวิทยาศาสตร์     Amomum xanthioides Wall.
วงศ์    Zingiberaceae
ชื่อสามัญ    Bustard cardamom, Tavoy cardamom
ชื่ออื่น    หมากแหน่ง (สระบุรี) หมากเนิง (อีสาน) มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่)
ลักษณะ
เร่วเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น ผลมีขนสีแดงปกคลุม เมล็ดมีสีน้ำตาล เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม
ประโยชน์ทางสมุนไพร
 น้ำมันหอมระเหยในเมล็ดเร่วมีฤทธิ์เป็นยาขับลม ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด








คื่นช่าย

ชื่อสมุนไพรไทย  คื่นช่าย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์      Climacanthus nutans
ชื่ออื่น     -
วงศ์      Acanthaceae 
ส่วนที่ใช้    ใบ  ลำต้น
สาระสำคัญ     Flavonoid 
สรรพคุณ 
 บรรเทาอาการอักเสบเฉพาะที่ บรรเทาอาการเป็นหวัด  คัดจมูก ลดอาการไข้ได้อย่างดี